วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ปัญหาเด็กติดเกมส์



ลูกหลานติดเกมส์แก้ไขอย่างไร

ปัญหาเด็กติดเกม พบได้ทั่วไปในปัจจุบันนี้ พ่อแม่หลายคนลำบากใจที่จะบังคับให้ลูกเลิกเล่นเกมเด็กบางคน
ติดมากจนไม่สนใจการเรียน ผลการเรียนตกลงมาก ๆ หรือบางคนไม่ยอมไปโรงเรียน ใช้เวลาเล่นเกมที่บ้านทั้งวัน
เวลาห้ามมาก ๆ เด็กแอบหนีไปเล่นเกมที่ร้านเกมนอกบ้าน  บางคนเลยซื้อเกมให้เด็กเล่นที่บ้านเนื่องจากเกรงว่า
เด็กจะไม่กลับบ้าน แต่กลับเป็นปัญหาต่อมาจากการเล่นเกมที่บ้านมากขึ้นการช่วยเหลือเด็กติดเกม
จึงเป็นความจำเป็นรีบด่วนระดับประเทศ  และถ้าสามารถป้องกันปัญหานี้ได้  จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

























หลักสำคัญในการป้องกันหรือช่วยเหลือ

วิธีการป้องกันและแก้ไขเด็กติดเกม  ทำได้ด้วยการใช้วิธีการต่าง ๆ ประกอบกัน ดังนี้

1. รู้ความสนใจของลูกตลอดเวลา

                พ่อแม่ควรสนใจติดตามพฤติกรรมของลูก ความสนใจกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงความสนใจเรื่องเกม
ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มอยากเล่นตั้งแต่อายุ 6 ปีเป็นต้นไป  และจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวัยรุ่นตอนปลาย  ซึ่งเด็กยังขาดการควบคุมตนเอง  เพื่อนมีอิทธิพลอย่างสูงที่จะเหนี่ยวนำให้สนใจ  อยากรู้อยากเห็น  อยากลอง  เพื่อจะมีเรื่องสนุกสนานพูดคุยกัน

2. รู้จักเกมที่เด็กเล่น
                เกมที่เด็กเล่นอาจมีหลายประเภท  แตกต่างกันตามความสนใจ  ความชอบความถนัด  การพูดคุยเรื่องเกมกับลูกทำให้เข้าใจความชอบของเด็ก  ถ้าได้เห็นตอนเด็กเล่นเกมจะสามารถแยกแยะประเภทของเกมได้ ดังนี้                         

3. รู้สาเหตุที่เด็กชอบ

4. รู้สาเหตุที่เด็กติดเกม (ผู้ปกครองควรเริ่มแก้ปํญหาจากจุดนี้)
         1.  เด็กขาดการควบคุมตนเอง
         2.  พ่อแม่ไม่สนใจพฤติกรรมลูก ไม่มีเวลากำกับให้เด็กทำตามกติกา
         3.  ปล่อยให้เด็กมีอิสรเสรีมากเกินไป
         4.  ไม่มีการตกลงกติกากันก่อน
         5.  พ่อแม่ไม่ได้ช่วยให้เด็กมีกิจกรรมที่ดี และเหมาะสมกับจิตใจของเด็ก
         6.  เด็กมีปัญหาทางอารมณ์ ใช้เกมช่วยให้อาการดีขึ้นชั่วคราว
         7.  สิ่งแวดล้อม/เพื่อน/ครอบครัว/ชุมชน

การค้นหาเด็กติดเกม

         การค้นหาเด็กติดเกม  ทำได้ด้วยการสังเกตพฤติกรรมเด็กที่บ้าน  ที่โรงเรียน  นอกบ้าน  นอกโรงเรียน  การสอบถามพฤติกรรมของผู้ใกล้ชิด  

ลักษณะของการติดเกม

    • ใช้เวลาเล่นเกม เกิน 2 ชม.ต่อวัน
    • รบกวนหน้าที่ การเรียน ขาดทักษะสังคม ขาดความสัมพันธ์ในบ้าน และกับเพื่อนนอกบ้าน
    • หมกมุ่นจริงจัง
    • ขาดไม่ได้ จะมีอาการรุนแรง อารมณ์เสีย
    • บุคลิกภาพผิดไปจากเดิม
    • ใช้เงินมาก แอบทำ โกหก ขโมยเงินไปเล่น
ลักษณะเด็กที่จะติดเกมง่าย
เด็กที่มีลักษณะต่อไปนี้  ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ  มีโอกาสติดเกมได้ง่าย  หรือถ้าเริ่มเล่นเกมต้องคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด  
    • สมาธิสั้น ปัญหาการเรียน   (LD)
    • ปัญหากับเพื่อน ขาดทักษะสังคม
    • ปัญหาอารมณ์ เหงา  เครียด  ซึมเศร้า
    • ขาดการยับยั้งใจตนเอง  (Disinhibition)    
    • รอคอยไม่ได้  (Immediate gratification)    
    • ขาดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (Low self esteem)
แพทย์หญิงอัญชุลี  ธีระวงศ์ไพศาล  จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น  โรงพยาบาลสมิติเวช  ศรีนครินทร์  ให้แนวทางแก้ไขไว้ว่า

  หากเด็กติดเกมแล้วควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กหาเวลาที่เด็กและผู้ปกครองมาคุยพร้อมกันโดยไม่แสดงท่าทีดุด่าว่าเด็กว่าไม่รับผิดชอบควรแสดงความรู้สึก
       เป็นห่วงที่เห็นเด็กเล่นเกมบ่อย แสดงความเห็นใจว่าเด็กไม่สามารถตัดขาดจากเกมได้ ช่วยกันคิดและตั้งเป้าหมายร่วมกันว่าจะแก้ไขอย่างไร

  หากในบ้านยังไม่มีกฎกติกาในการเล่นเกม จำเป็นต้องพูดคุยให้เด็กมีส่วนร่วมในการกำหนดเวลาการเล่นที่ชัดเจนว่าเล่นได้ในวันไหน เมื่อไร  กี่ชั่วโมง
       แล้วค่อยปรับลดลงจนเหมาะสม ถ้าเด็กทำตามไม่ได้ จะให้พ่อแม่ช่วยเขาอย่างไร

  เมื่อเด็กควบคุมการเล่นเกมได้ดีขึ้น ควรชมเด็ก และให้กำลังใจต่อไป

  พ่อแม่ควรมีเวลาอยู่กับเด็กให้มากขึ้น อาจจะพาไปทำกิจกรรมอื่นที่สนุกสนานและที่เด็กชอบ (ยกเว้นเล่นเกม) ในเวลาว่าง เช่น เล่นดนตรี กีฬา งานศิลปะ
        ปลูกต้นไม้ เป็นต้น

  ฝึกให้เด็กรู้จักแบ่งเวลา รู้จักควบคุมตัวเอง

  จำกัดเงินไม่ให้เงินเด็กใช้มากเกินไป

  ผู้ปกครองควรร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโดยใช้กฎกติกาเดียวกัน ไม่ปล่อยให้เป็นภาระหรือความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง และที่สำคัญไม่ขัดแย้งกันเอง

  ไม่ท้อแท้ต่อปัญหา ต้องอดทนใช้เวลาอย่างต่อเนื่อง

  สร้างความอบอุ่น ความเข้าใจภายในบ้าน ทำให้บ้านมีความสุข ไม่เครียด

สรุปก็คือ ปัญหาการติดเกมของเด็กจะไม่เกิดขึ้น
หากผู้ปกครองใส่ใจและให้เวลากับเด็กมากขึ้น
รวมทั้งตัวของเด็กเองถ้าได้รับอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ควรและไม่ควร
แต่ก็ไม่ได้โทษผู้ปกครองทั้งหมด การที่จะแก้ไขปัญหานั้นควรจะมีการร่วมมือกัน
จากหลายฝ่าย แต่การเริ่มต้นจากที่ครอบครัวก่อนก็จะดีที่สุด

ฉะนั้น ต้องช่วยกันเป็นกำลังใจให้เด็กลดละพฤติกรรมเดิมลงทีละเล็กละน้อย
และหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์อื่นๆ มาทดแทน แม้จะต้องใช้เวลาสักเพียงใดก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น