วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว


 ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาเบื้องต้นของความสงบสุขของสังคมปัญหา ความรุนแรงที่พบบ่อย ได้แก่ สามีทำร้ายภรรยา การทารุณเด็ก การใช้แรงงานเด็ก ความรุนแรงเหล่านี้มีผลกระทบต่อบุคคลทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เก็บกด อาฆาต ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นครอบครัวที่พ่อแม่ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด ใช้อาวุธต่อสู้กัน ทำร้ายบุตร รวมทั้งการหย่าร้าง เป็นสาเหตุให้เด็กหวาดระแวงผู้ใหญ่และสูญเสียสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นอาจทำ ให้ตั้งแก๊งก้าวร้าวทารุณเด็กอื่น หนีออกจากบ้าน รู้สึกว่าตนเองหมดคุณค่าหันไปหาที่พึ่งอื่น ๆ เช่น สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควรและขาดความรับผิดชอบ ผลต่อครอบครัวคือขาดสัมพันธภาพภายในครอบครัว แยกตัวกลายเป็นเด็กเร่ร่อน ส่งผลกระทบต่อสังคมกลายเป็นเด็กก่ออาชญากรรม สร้างปัญหารุนแรงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ทำให้สูญเสียกำลังบุคคลของประเทศ 
      ความรุนแรงภายในครอบครัวมีสาเหตุพื้นฐานของปัญหาจาก ความเชื่อประเพณี ทัศนคติต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของปัจเจกบุคคล เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิ การที่บุคคลในครอบครัวมีฐานะ และสถานภาพที่แตกต่างกัน ทำให้มีการใช้กำลังบังคับกันในครอบครัว ซึ่งคนภายนอกมักไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว เด็กและสตรีจึงมักตกอยู่ในสภาพของการถูกกดขี่ หรือครอบครัวใดที่พ่อดื่มเหล้า ทำทารุณต่อลูกเมียมักก่อให้เกิดปัญหาความแตกแยกตามมา การงาน ฐานะทางเศรษกิจเป็นภาวะกดดันเบื้องต้นในครอบครัว เด็กไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะขาดทักษะชีวิต เช่นทักษะในการลดความขัดแย้งและความกดดัน จึงกลายเป็นคนเก็บกด มีอารมณ์ไม่อยู่กับร่องกับรอย ก้าวร้าว และเปราะบางกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  

       ความรุนแรง เป็นปัญหาที่พบอยู่เสมอทั้งในครอบครัวและในสังคม และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ บุคคลที่อ่อนแอหรือด้อยโอกาส อาทิเช่น เด็ก สตรี คนชรา ผู้มีสติปัญญาอ่อน คนยากจน เป็นต้น มักจะถูกกระทำในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ การทุบตีทำร้ายร่างกาย การทำร้ายทางจิตใจโดยการแสดงออกด้วยวาจา กิริยาท่าทาง หรือการกระทำที่ทำให้ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์และจิตใจ เช่น การพูดจาดูถูกเหยียดหยาม การด่าว่าด้วยคำหยาบคาย เป็นต้น การใช้ความรุนแรงทางเพศ ได้แก่   การพูดคุยเรื่องลามกหยาบคาย     การลวนลามทางเพศ การข่มขืนกระทำชำเราเป็นต้น ลักษณะอื่น ๆ ของความรุนแรงที่อาจพบได้อีกได้แก่ การเอาเปรียบทางด้านการเงิน แรงงาน  การค้าประเวณี เป็นต้น การทอดทิ้ง

ไม่รับผิดชอบดูแลบุคคลในครอบครัว   ถือว่าเป็นความรุนแรงอีกลักษณะหนึ่ง

ความรุนแรงในสังคมสามารถพบได้ทั่วไป ตามท้องถนน ในโรงเรียน และ

ในสถานที่ทำงาน
               ความรุนแรง มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ การบาดเจ็บทางร่างกายเป็นผลกระทบต่อสุขภาพทางกายที่เห็น ได้อย่างชัดเจน ส่วนทางด้านจิตใจนั้นผู้ที่ถูกกระทำโดยญาติพี่น้องซึ่งเป็นบุคคลที่ตนรักและ ไว้วางใจที่สุดย่อมเกิดความบอบช้ำทางใจอย่างรุนแรง ทำให้เกิดปัญหาทางจิตและมีผลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพในระยะยาว เด็กที่ถูกข่มเหงทารุณโดยบิดามารดาหรือญาติพี่น้องจะมีพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาช้า มีปัญหาทางกายและทางจิต มีบุคลิกภาพก้าวร้าว และมีแนวโน้มที่จะเป็นยุวอาชญากร สตรีที่ถูกทารุณ โดยสามี เช่น ถูกทุบตี ถูกทอดทิ้งเพราะสามีไปมีหญิงอื่น ถูกด่าว่าด้วยคำหยาบคาย เป็นต้น มักจะมีภาวะซึมเศร้า และฆ่าตัวตายสูง นอกจากนั้นสตรีเหล่านี้อาจหันมาใช้ความรุนแรง เช่น ทุบตีบุตร และอาจถึงกับมีการฆ่าบุตรและสามีดังปรากฏเป็นข่าว ในหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ ๆ ส่วนคนชรานั้น ย่อมเกิดความปวดร้าวทางจิตใจที่บุตรของตนเองซึ่งเลี้ยงดูมาจนเติบโตแต่กลับ อกตัญญูไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูบิดามารดาในยามแก่ชรา และเจ็บป่วย
       จะเห็น ได้ว่าการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวและสังคมเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและ เกี่ยวข้องกับบุคคล จำนวนมาก และเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย และทุกชนชั้น แต่สังคมไทยยังถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องส่วนตัวที่แต่ละคนต้องแก้ไขเอง ตามลำพัง ทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขและมีผลกระทบต่อความผาสุกของครอบครัวและสังคม สถานพยาบาลต่าง ๆ ยังไม่มีการจัดบริการทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงส่วนใหญ่แล้ว บริการที่ให้เป็นการบำบัดทางจิตเมื่อผู้ถูกกระทำเกิดความผิดปกติทางจิตอย่าง รุนแรง แล้ว ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ล่าช้าเกินไป ส่วนผู้กระทำมักจะไม่ได้รับการบำบัดแก้ไขพฤติกรรม ทำให้มีการใช้ความรุนแรงต่อไปไม่สิ้นสุดและรุนแรงมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะยังขาดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดจนขาดองค์ความรู้

   อีกทั้งปัญหาจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อ การเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว  อาทิ เช่น

1. องค์กรที่เห็นปัญหาไม่มีเอกภาพ ไม่มีศูนย์กลางรับผิดชอบ
2. ระบบกำกับติดตามยังไม่มีแนวทางร่วมกัน
3. บริการให้การปรึกษาปัญหา ช่วยเหลือผู้เป็นเหยื่อ ด้านกฎระเบียบยังปฏิบัติไม่ได้จริงจัง
4. สื่อมวลชนเสนอความคิดประชาชนทางลบ สื่อสารความรุนแรง และทำร้ายเหยื่อทำให้กลับเข้าสังคมปกติลำบาก
5. ยังไม่มีการให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างเพียงพอในด้านสิทธิเด็ก ด้านการทำร้ายทารุณสตรีและเด็ก เพื่อสร้างทัศนคติในทางป้องกัน
6. การพัฒนาครอบครัวไม่มีผู้นำทางศาสนาเข้ามามีบทบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น